ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข (ศคอส.) จ.ระยอง
English Chinese (Simplified) Chinese (Traditional) French German Italian Japanese Korean Portuguese Russian Vietnamese Thai
Virtuoso - Professional Bootstrap Template

 

ความเป็นมา

ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration: IAI)
ภูมิหลัง

1. ภาพรวม ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ณ สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 เห็นพ้องต่อ “ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน” (Initiative for ASEAN Integration: IAI) เพื่อเร่งรัดการรวมตัวของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยการลดช่องว่างด้านการพัฒนา (Narrowing the Development Gap – NDG) ระหว่างประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ (ASEAN 6) กับประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) และการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศ CLMV โดยมี IAI Work Plan I รองรับระยะเวลา 6 ปี (2545-2551) ปัจจุบัน อยู่ระหว่างดาเนินงานภายใต้แผนงานฉบับที่ 2 IAI Work Plan II (ปี 2552-2558)
2. IAI Work Plan I (2545-2551) มีโครงการทั้งสิ้น 218 โครงการ สิงคโปร์ให้เงินสนับสนุนโครงการ IAI มากที่สุด โครงการ IAI ส่วนใหญ่เป็นโครงการสาขาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้ศูนย์ IAI Centre ที่สิงคโปร์จัดตั้งขึ้นในแต่ละประเทศ CLMV เป็นศูนย์ฝึกอบรม
3. IAI Work Plan II (2552-2558) มีสาระในการดาเนินงานต่างไปจากแผนงานระยะที่ 1 คือ แผนงาน ระยะที่ 2 จะขยายแผนการเสริมสร้างขีดความสามารถของกลุ่ม CLMV ให้สอดคล้องกับแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้ง 3 เสาหลัก ซึ่งจะช่วยให้การจัดตั้งประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการให้ความช่วยเหลือประเทศ CLMV ให้สามารถดาเนินการตามพันธกิจและลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจาก การรวมตัวของอาเซียน และยังคงเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถ ทั้งนี้ ภายใต้ IAI Work Plan II มีโครงการทั้งหมด 269 โครงการ (สถานะเดือนเมษายน 2557) มีมูลค่ารวม 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สิงคโปร์ เป็นประเทศที่ให้เงินสนับสนุนโครงการ IAI มากที่สุด ประเทศไทยสนับสนุนโครงการ IAI จานวน 5 โครงการ คิดเป็นเงิน 374,766 ดอลลาร์สหรัฐ และประเทศคู่เจรจาที่ให้ความช่วยเหลือมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป อินเดีย และเยอรมนี
4. คณะทางาน IAI (IAI Task Force) ซึ่งประกอบด้วยเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทาหน้าที่เป็นผู้กากับนโยบายและขับเคลื่อนการดาเนินการภายใต้แผนงานฯ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรของ CLMV ประจาอาเซียนจะหมุนเวียนกันเป็นประธานตามลาดับตัวอักษรเป็นเวลาคนละ 1 ปีปฏิทิน โดยจัดการประชุมปีละไม่ต่ากว่า 4 ครั้ง และอาจมีการประชุมนอกเหนือจากนั้นได้ในกรณีที่มีความจาเป็น ปัจจุบัน กัมพูชา ทาหน้าที่เป็นประธาน IAI Task Force จนถึงสิ้นปี 2557 ทั้งนี้ คณะทางานฯ รายงานผลการดาเนินงานต่อ ASEAN Coordinating Council (ACC)
5. งบประมาณ IAI ไม่มีกองทุนเฉพาะเพื่อสนับสนุนการดาเนินการ แม้ว่าเคยมีความพยายามจะจัดตั้งกองทุนพิเศษเพื่อลดช่องว่างด้านการพัฒนา แต่อาเซียนยังคงเห็นว่า อาจไม่มีความจาเป็นที่จะจัดตั้งกองทุนพิเศษสาหรับเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ IAI Task Force เห็นว่าควรเร่งดาเนินการระดมทุนในหลายช่องทาง รวมทั้งการระดมทุนจาก ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งรวมถึงภาคเอกชนด้วย ปัจจุบัน การดาเนินการภายใต้ IAI ยังคงอาศัยการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการที่ริเริ่มโดยอาเซียน 6 และเงินทุนสนับสนุนโดยตรงจากประเทศคู่เจรจาและองค์กรเพื่อการพัฒนา รวมทั้งโครงการความร่วมมือไตรภาคีระหว่างอาเซียน 6 และประเทศคู่เจรจากับองค์กรเพื่อการพัฒนา


บทบาทของไทย
1. ไทยให้เงินสนับสนุนโครงการ IAI ประมาณ 0.375 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะเดียวกันไทยให้ ความสาคัญต่อการให้ความช่วยเหลือ CLMV ในกรอบอื่น ๆ ทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบความร่วมมือใน ภูมิภาคที่ไทยเป็นผู้ริเริ่มหรือมีบทบาทนา เช่น ACMECS GMS เป็นต้น
2. ไทยมีโครงการให้ความช่วยเหลือระหว่างปี 2552 – 2556 ภายใต้ IAI Work Plan II ทั้งหมด
5 โครงการ รวมมูลค่าความช่วยเหลือประมาณ 11.25 ล้านบาท ดาเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ (1) Successful Operationalization of the ASEAN Framework Agreement on Multimodal Transport (2) Thai International Post Graduate Program 2009-2010 (3) ASEAN Workshop on Cross-border Management: A Key to Efficient ASEAN Connectivity (4) Training on Harmonization of Power Distribution System in ASEAN Countries และอยู่ระหว่างดาเนินโครงการอีก 1 โครงการได้แก่ (5) Strengthening of Measurement Standard Institute ระยะเวลาการดาเนินงาน 5 ปี (2551-2555) ปัจจุบัน โครงการฯ ได้รับการขยายเวลาการดาเนินการจนถึงปี 2558
******************
กองเศรษฐกิจ
กรมอาเซียน
มิถุนายน 2558

 

ประเทศไทยสำหรับการก้าวไปสู่การเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ประเทศไทยได้สร้างกลไกการทำงานในระดับประเทศไว้ในลักษณะเดียวกันกับกลไกการทำงานของอาเซียนที่ได้กล่าวไปแล้วคือ มีการกำหนดกลไกการทำงานเป็นระดับต่าง ๆ ให้มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

ต่อมาสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แจ้งจัดสรรงบประมาณรายจ่่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 กำหนดการดำเนินงานตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาความร่วมมือด้านต่างประเทศ โครงการสนับสนุนการเป็นเมืองศูนย์กลางบริการสุขภาพในอาเซียน โดยกำหนดแนวทางให้ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข (ศคอส.) ในระดับจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการบริหารจัดการงบประมาณ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้กับสถานบริการสุขภาพในกลุ่มเป้าหมายทุกแห่ง ให้จัดบริการที่เป็นมิตรกับชาวต่างชาติ ตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

  • กำหนดหรือเสนอแนะนโยบายแนวทาง
  • ประสานนโยบายและท่าทีในการดำเนินการต่าง ๆ ในกรอบความร่วมมือ


เกี่ยวกับอาเซียน

บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับบรูไนดารุสซาลาม ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับบรูไนฯ เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2527 ทั้งสองฝ่ายมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดและมีทัศนคติที่ดีต่อกัน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับราชวงศ์และผู้นำระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ และเป็นพันธมิตรในเรื่องต่าง ๆ ทั้งในกรอบอาเซียนและกรอบพหุภาคี (อาทิ OIC สหประชาชาติเอเปค)
ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชา ผู้นำไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและมีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งมีส่วนช่วยให้ความร่วมมือระหว่างสองประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น และสามารถแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ได้แต่ยังคงมีประเด็นปัญหาที่ต้องร่วมมือแก้ไข เช่น การปักปันเขตแดน เป็นต้น ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia/ Republik Indonesia) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ไทยมีความสัมพันธ์กับดินแดนที่เป็นอินโดนีเซียในปัจจุบันมาช้านาน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับชวา และมีการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งทางวรรณคดีอาหาร เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี เป็นต้น
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People's Democratic Republic) ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับลาวในปัจจุบันดำเนินไปอย่างราบรื่นใกล้ชิด ทั้งสองฝ่ายได้ใช้กลไกและเวทีความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีผลักดันความร่วมมือและแก้ไขปัญหา เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติวิธี
มาเลเซีย (Malaysia) ไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดกันในระดับท้องถิ่น ประชาชนทั้งสองฝ่ายไปมาหาสู่กันในฐานะมิตรและเครือญาติ มีโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคม และความร่วมมือด้านการบริหารจัดการสัญจร ข้ามแดน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในพื้นที่และส่งเสริมการติดต่อด้านการค้าและการ ท่องเที่ยว
สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (Republic of the Union of Myanmar)
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมา ไทยและเมียนมาร์เปิดสถานเอกอัครราชทูตของทั้งสองฝ่ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2492 ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งในระดับรัฐบาลและประชาชน มีการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ
สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines/ Republika ng Pilipinas)
เศรษฐกิจการค้า ฟิลิปปินส์มีระบบเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกับไทย กล่าวคือ เป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรร้อยละ 60 ประกอบอาชีพเกษตรกร
สาธารณรัฐสิงค์โปร์ (Republic of Singapore/ Republik Singapura)
ประเทศสิงคโปร์มีการปกครองระบอบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา (Parliamentary Parliament) มีสภาเดียว (Unicameral parliament) มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ (วาระ 6 ปี) และนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาล/หัวหน้าฝ่ายบริหาร (วาระ 5 ปี)
ประเทศไทย (The Kingdom of Thailand )
เป็นเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดในประเทศไทยในด้านของความหนาแน่นประชากร เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่งการเงิน การธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
สถานที่สำคัญทางวัฒนธรรม : วัดเนินหยก (Ngoc Son) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองฮานอย ตั้งอยู่ติดกับทะเลสาปกลางเมือง ต้องเดินข้ามสะพานแสงอาทิตย์ (The Huc) เป็นสะพานไม้สีแดงที่โดดเด่น ทอดยาวลงไปตรงประตูทางเข้าของวัด