ความเป็นมา

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน

ความเป็นมาของประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community)
ความเป็นมาของอาเซียน

๑. การจัดตั้งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations
หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดย
สมาชิกผู้ก่อตั้ง ๕ ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง ๕ ประเทศ
ประกอบด้วย นายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) นายตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี
รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศ
ฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรี
ต่างประเทศไทย) ในเวลาต่อมา ได้มีประเทศต่าง ๆ เข้ามาเป็นสมาชิกเพิ่มเติมได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิก
เมื่อ ๗ มกราคม พ .ศ.๒๕๒๗) เวียดนาม (วันที่๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๘) ลาว และพม่า (วันที่ ๒๓ กรกฎาคม
พ.ศ. .๒๕๔๐) และกัมพูชา (เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๒) ตามลำดับ จากการรับกัมพูชาเข้ามาเป็นสมาชิก
ท าให้อาเซียนมีสมาชิกครบ ๑๐ ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อาเซียนก่อตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมสันติภาพ และความมั่นคงของภูมิภาค ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ สัญลักษณ์ของอาเซียนคือ รูปรวงข้าวสีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลมสีขาวและสีน้ าเงิน รวงข้าว ๑๐ ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก ๑๐ ประเทศ สีเหลืองหมายถึงความเจริญรุ่งเรือง สีแดงหมายถึง ความกล้าหาญและ การมีพลวัต สีขาวหมายถึงความบริสุทธิ์ และสีน้ าเงินหมายถึงสันติภาพและความมั่นคง นโยบายการด าเนินงานของอาเซียนจะเป็นผลจากการประชุมหารือในระดับหัวหน้ารัฐบาล ระดับรัฐมนตรี หรือเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียน ทั้งนี้การประชุมสุดยอด (ASEAN Summit) หรือการประชุมของ ผู้น าประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นการประชุมระดับสูงสุดเพื่อก าหนดแนวนโยบายในภาพรวมและเป็นโอกาสที่ ประเทศสมาชิกจะได้ร่วมกันประกาศเป้าหมายและแผนงานของอาเซียนในระยะยาวซึ่งจะปรากฏเป็นเอกสาร ในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ แผนปฏิบัติการ (Action Plan) แถลงการณ์ร่วม (Joint Declaration) ปฏิญญา (Declaration) ความตกลง (Agreement) หรืออนุสัญญา (Convention) ส่วนการประชุมในระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่ อาวุโสจะเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาทั้งนโยบายในภาพรวมและนโยบายเฉพาะด้าน
 

ด้านการเมืองและความมั่นคง อาเซียนได้จัดทำปฏิญญากำหนดให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลาง (Zone of Peace Freedom and Neutrality-ZOPFAN)
ในปี ๒๕๑๔ จัดทำสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and
Cooperation-TAC) ในปี ๒๕๑๙ และจัดทำสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(Treaty on the Southeast Asian Nuclear Weapon-Free Zone-SEANWFZ) ในปี ๒๕๓๘ รวมทั้งได้ริเริ่ม
การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ASEAN Regional
Forum-ARF) ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๓๗
ด้านเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area-AFTA)
ในปี ๒๕๓๕ เพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันเพื่อช่วยส่งเสริมการค้าภายในอาเซียนให้มีปริมาณเพิ่มขึ้น ลดต้นทุน
การผลิตสินค้า และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ กับทั้งได้ขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเพิ่มเติมเพื่อให้
การรวมตัวทางเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบและมีทิศทางชัดเจนด้วยการจัดตั้งเขตลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment
Area-AIA ) ด้านสังคม อาเซียนมีความร่วมมือเฉพาะด้าน (Functional cooperation) ในประเด็นด้านสังคม
และวัฒนธรรมที่ครอบคลุมในหลายด้าน เพื่อให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้าน
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต

หน่วยงานที่ทำหน้าที่ประสานงานและติดตามผลการดำเนินงานในกรอบอาเซียนประกอบด้วย
๑. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เป็นศูนย์กลางในการ
ติดต่อระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีเลขาธิการอาเซียน (Secretary-General of ASEAN) เป็นหัวหน้าสำนักงาน
ที่ผ่านมาผู้แทนจากประเทศไทยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนแล้ว ๒ ท่านคือ ฯพณฯ นายแผน วรรณเมธี
(ระหว่างปี ๒๕๒๗ – ๒๕๒๙)ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ (ระหว่างปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๕)
๒. สำนักงานเลขาธิการแห่งชาติ
หรือ ASEAN National Secretariat เป็นหน่วยงานระดับกรมในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน
มีหน้าที่ประสานกิจการอาเซียนและติดตามผลการด าเนินงานในประเทศนั้น สำหรับประเทศไทยหน่วยงาน
ที่รับผิดชอบ คือ กรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ๓. คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจ าอาเซียน
(Committee of Permanent Representatives – CPR) ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนระดับเอกอัครราชทูตที่ได้รับ
การแต่งตั้งมาจากประเทศสมาชิก มีภารกิจในการสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียนและ
องค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา รวมทั้งประสานงานกับสำนักเลขาธิการอาเซียนและสำนักเลขาธิการ
อาเซียนแห่งชาติ ตลอดจนดูแลความร่วมมือของอาเซียนกับหุ้นส่วนภายนอก ประเทศได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูต
ผู้แทนถาวรประจำอาเซียนและมีคณะผู้แทนถาวรไทยประจ าอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตาe

ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข (ศคอส.) จ.ระยอง 
Center of Aseanhealth Network Collaboration : AHNC

เมนู

กลุ่มพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง

rayong21@gmail.com

โทรศัพท์ 038-613430 โทรสาร 038-621240

© 2024 ศูนย์ประสานงานเครือข่ายประชาคมอาเซียนด้านสาธารณสุข (ศคอส.) จ.ระยอง